Learning Log

Learning Log 1
Tuesday 14th January 2020


   วันนี้เป็นวันแรกของการเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์เลื่อนคลาสเรียนมาเรียนวันอังคารกับอาจารย์ผศ.ดร.กรรณิการ์ สุสม อาจารย์เริ่มจากให้นักศึกษาออกมาแนะนำตัวแบบมีความคิดสร้างสรรค์ และทำกิจกรรมเต้นร่วมกัน
   
บทนำ การพัฒนาการคิด
การคิดเป็นกิจกรรมทางปัญญาของมนุษย์ เป็นธรรมชาติของจิต
-ดร.สาโรช บัวศรี การคิดเป็นกิจกรรมทางจิตประกอบด้วยลักษณะ 3 ประการ 1.ความรู้สึก 2.ความจำ 3.จินตนาการ
-ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ การคิดเป็นกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจงว่าเรารู้กำลังคิดเพื่อวัตถุประสงค์อะไรบางอย่าง และสามารถควบคุมให้คิดจนบรรลุเป้าหมายได้
    ความสำคัญของการคิด
  • การคิดนำไปสู่การกระทำและการเปลี่ยนแปลง
  • การคิดทำให้ได้วิธีการที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา
  • การคิดที่ถูกต้องช่วยลดเวลาในการแก้ปัญหา ลดการใช้ทรัพยากร
  • การคิดที่ไม่ถูกต้องนอกจากจะไม่แก้ปัญหาแล้วยังเป็นการก่อปัญหา
   รูปแบบของการคิด
  • Critical thinking การคิดเชิงวิพากย์
  • Analytical Thinking การคิดเชิงวิเคราะห์
  • Synthesis-Type Thinking การคิดเชิงสังเคราะห์
  • Comparative Thinking การคิดเชิงเปรียบเทียบ
  • Conceptual Thinking การคิดเชิงมโนทัศน์
  • Applicative Thinking การคิดเชิงประยุกต์
  • Strategic Thinking การคิดเชิงกลยุทธ์
  • Intergrative Thinking การคิดเชิงบูรณาการ
  • Futuristic Thinking การคิดเชิงอนาคต
  • Creative Thinking การคิดเชิงสร้างสรรค์
  • Logical Thinking การคิดอย่างมีเหตุผล
   องค์ประกอบของความคิด


















ระดับขั้นของการคิด
  1. ระดับขั้นพื้นฐาน เรียกว่า ทักษะการคิด หมายถึง พฤติกรรมการคิดที่มีลักษณะเป็นรูปธรรมเพียงพอที่จะช่วยให้มองเป็นการกระทำที่ชัดเจน เช่น การฟัง การอ่าน การเขียน การอธิบาย
  2. ระดับขั้นกลาง เรียกว่า ลักษณะการคิด หมายถึง การบอกลักษณะต่าง ๆ ของการคิด
  3. ระดับขั้นสูง เรียกว่า กระบวนการคิด หมายถึง การคิดที่ต้องดำเนินไปตามลำดับ
   กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มี 7 องค์ประกอบ
  1. จุดหมาย วัตถุประสงค์
  2. ประเด็นคำถาม
  3. สารสนเทศ
  4. ข้อมูลเชิงประจักษ์
  5. แนวคิดอย่างมีเหตุผล
  6. ข้อสันนิษฐาน
  7. การนำไปใช้และผลที่ตามมา
   การประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
   การประเมินเพื่อน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
   การประเมินอาจารย์ มีกิจกรรมเพื่อดึงดูดความสนใจของนักศึกษา และมีเวลาให้นักศึกษาผ่อนคลาย


Learning Log 2
Monday 27th January 2020


   ครั้งที่ 2 ของการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้ได้เรียนกับอาจารย์ดร.จินตนา สุขสำราญ อาจารย์บรรยายประกอบกับการให้นักศึกษาทำกิจกรรมด้วย

ความคิดเป็นสิ่งที่ควบคุมคำพูดและการกระทำ

การคิดเป็นกระบวนการทางสมองที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นทำให้จิตและสมองนำข้อมูลที่มีอยู่มาหาวิธีการเพื่อจะแก้ไขปัญหานั้น

   คุณค่าของความคิดสร้างสรรค์
  • คุณค่าต่อสังคม
  • คุณค่าต่อตนเอง
  • ทำให้เกิดความสนุกสนาน
  • ลดความเครียดทางอารมณ์
  • ส่งเสริมสุนรียภาพ
   องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์

  • ความคิดคล่องแคล่ว หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน เช่น ด้านถ้อยคำ การโยงสัมพันธ์ การแสดงออก การคิด
  • ความคิดริเริ่ม หมายถึง ความคิดที่แปลกใหม่และแตกต่างไปจากคว่มคิดธรรมดา หรือความคิดที่แตกต่างไปจากบุคคลอื่น
อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม 4-6 คนเพื่อให้นักศึกษาลองจัดกลุ่มแบบไล่ระดับโดยให้มีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายสัมผัสต่อ ๆ กัน






   กิลฟอร์ด วิธีการคิด 2 แบบ
  1. ความคิดรวมหรือความคิดเอกนัย
  2. ความคิดกระจายหรือความคิดอเนกนัย
   โครงสร้างความคิดกิลฟอร์ดแบ่งเป็น 3 มิติ

   มิติที่ 1 เนื้อหา(Content) แบ่งเป็น 4 ลักษณะ 1.ภาพ 2.สัญญลักษณ์ 3.ภาษา 4.พฤติกรรม
   มิติที่ 2 วิธีการคิด 1.การรู้การเข้าใจ 2.การจำ 3.การคิดแบบอเนกนัย 4.การคิดแบบเอกนัย 5.การประเมิน
   มิติที่ 3 ผลของการคิด 1.หน่วย 2.จำพวก 3.ความสัมพันธ์ 4.ระบบ 5.การแปลงรูป 6.การประยุกต์
   
   โครงสร้างทางสติปัญญากิลฟอร์ดประกอบด้วย...
  1. ความคิดริเริ่ม
  2. ความคิดคล่องตัว
  3. ความคิดยืดหยุ่น
  4. ความคิดละเอียดละออ
อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม สร้างเรือมนุษย์ขึ้นมาพร้อมอธิบายว่าวางแผนความคิดอย่างไร



   การประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
   การประเมินเพื่อน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
   การประเมินอาจารย์ มีกิจกรรมเพื่อดึงดูดความสนใจของนักศึกษา และมีเวลาให้นักศึกษาผ่อนคลาย


Learning Log 3
Monday 3rd February 2020

   ครั้งที่ 2 ของการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้ได้เรียนกับอาจารย์ดร.จินตนา สุขสำราญ วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรม"สร้างเรือจากเชือก" โดยให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ออกแบบเชือกที่ให้เป็นเรือที่สามารถบรรทุกคนได้ภายในเรือ และตกแต่งออกแบบชุดให้แม่ย่านางของเรือ







เนื้อหาสาระที่ได้จากการสร้างเรือ
   
   1. ทักษะทางด้านสังคม(การทำงานร่วมกับผู้อื่น)
   2. วัฒนธรรมไทย ในด้านของ ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ
   3. ทักษะการคิดเชิงคณิตศาสตร์
   4. ทักษะการคิดเชิงวิทยาศาสตร์
   5. ทักษะการคิดเชิงแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์
   6. สุนทรียภาพจากการสร้างสรรค์ผลงาน
   7. ทักษะด้านภาษาในเรื่องของการพูด อธิบาย และนำเสนอผลงาน

*เด็ก ๆ สามารถวางแผนออกแบบสร้างงานได้ 1 ชิ้น โดยผ่านนกระบวนการทักษะต่าง ๆ ซึ่งสะท้อนได้อย่างหลากหลายกิจกรรม*

   ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาเขียนประโยชน์ของปากกาที่ไม่ใช่แค่เอาไว้เขียนให้ได้มากที่สุด ภายในระยะเวลาที่อาจารย์กำหนด


   อาจารย์ให้นักศึกษาออกแบบโดยสร้างสรรค์ตัวเลข 1-9 ให้ออกมาเป็นรูปแบบต่าง ๆ ตามจินตนาการ โดยยังคงความชัดเจนของตัวเลขไว้


   การประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
   การประเมินเพื่อน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
   การประเมินอาจารย์ มีกิจกรรมเพื่อดึงดูดความสนใจของนักศึกษา และมีเวลาให้นักศึกษาผ่อนคลาย


Learning Log 4
Monday 17th February 2020

-ขาดเรียน-



Learning Log 5
Monday 9th March 2020


   อาจารย์เริ่มต้นการเรียนการสอนจากการให้นักศึกษาเขียน"ความคิดสร้างสรรค์ที่เคยได้ทำ"ตั้งแต่ที่ผ่านมาจากอดีต
   
   ความคิดสร้างสรรค์ที่เคยทำ
  1. วาดภาพตามจินตนาการ
  2. ออกแบบกำไล Pandora
  3. จัดแจกันดอกไม้
  4. ตกแต่งห้องนอนและห้องเรียน
  5. ออกแบบลายเล็บที่ชื่นชอบ
  6. แต่งหน้าแฟนตาซี
   กิจกรรมที่ 2 อาจารย์ให้นักศึกษาลากเส้นจากจุดนึงไปอีกจุดนึงตามความคิด และระบายในช่องวางที่เกิดจากการลากเส้น


   กิจกรรมที่ 3 อาจารย์ให้นักศึกษาวาดภาพต่อเติมจากตัวแบบที่มีอยู่ สร้างสรรค์จากสิ่งที่กำหนดมาให้อยู่แล้ว


   กิจกรรมที่ 4 อาจารย์ให้นักศึกษาออกแบบลายผ้า(มีข้อกำหนดคือใช้สีได้เพีง 3 สีเท่านั้น)


   กิจกรรมที่ 5 อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คนเพื่อออกแบบท่าทางประกอบเพลง "ปฐมวัยมาแล้ว" เป็นท่าทางแบบ Body Percussion และให้แต่ละกลุ่มนำเสนอท่าทางที่ออกแบบ



   การประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
   การประเมินเพื่อน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
   การประเมินอาจารย์ มีกิจกรรมเพื่อดึงดูดความสนใจของนักศึกษา และมีเวลาให้นักศึกษาผ่อนคลาย




Learning Log 6
Friday 20th March 2020


   เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้การเรียนการสอนภายในห้องเรียนต้องหยุดชะงัก อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเรียนและพูดคุยเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและพูดคุยในเนื้อหาด้านการเรียนการสอนผ่านโปรแกรม ZOOM 




   อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศักษา 4 งาน โดยจับกลุ่ม กลุ่มละ3-4คน

1.แต่งนิทาน



2.คำคล้องจอง

3.ปริศนาคำทาย

4.กิจกรรมส่งเสริมการฟัง



   การประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
   การประเมินเพื่อน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
   การประเมินอาจารย์ มีกิจกรรมเพื่อดึงดูดความสนใจของนักศึกษา และมีเวลาให้นักศึกษาผ่อนคลาย



Learning Log 7
Friday 27th March 2020


   วันนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่ได้เรียนกันผ่านแอปพลิเคชั่น ZOOM เราเรียนในเรื่อง "ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์กับความคิดสร้างสรรค์"
  
 ความหมายของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
-สืบเสาะหาความรู้มีวิธีการอย่างมีระบบ ในขณะปฏิบัติการย่อมต้องใช้ความคิดควบคู่ไปด้วย ผลคือพัฒนาการทางสติปัญญาสามารถแก้ไขปัญหา ค้นคว้าและแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
   
ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
-ทักษะการสังเกต
-ทักษะการจำแนกประเภท
-ทักษะการสื่อความหมาย
-ทักษะการแสดงปริมาณ
-ทักษะการทดลอง
  
 แนวทางการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
-ยอมรับฟังคำถามที่แปลกใหม่ของเด็ก
-ยอมรับความคิดและวิธีการแก้ปัญหาแปลกใหม่ที่เด็กคิด
-แสดงให้เด็กเห็นว่าความคิดของเด็กมีคุณค่า
-จัดโอกาสให้เด็กได้คิดและค้นพบโดยไม่ต้องมีการประเมินผล
-ในการประเมินผลจะต้องให้เด็กได้ทราบเหตุและผลของการประเมินผลนั้น
  
 การจัดประสบการณ์วอทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
-ให้เด็กสังเกตสิ่งที่สนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ตัวหนอน แล้วเดินออกมาบอกครูและครุไม่ควรคิดว่าเด็กกำลังสนใจสิ่งสกปรก แต่ครูควรแนะนำหรือให้เด็กฝึกสังเกต โดยถามว่าตัวหนอนมีลักษณะอย่างไร
-สร้างความชัดเจนและมั่นใจว่าวิทยาศาสตร์เหมาะสำหรับเด็กทุกคน ไม่ใช่สำหรับเด็กบางคน ครูมีหน้าที่กระตุ้นให้เด็กทุกคนสนใจวิทยาศาสตร์ไม่ว่าเด็กจะเรียนรู้ได้เร็วหรือช้า ให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องตื่นเต้นและน่าสนุก
-ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์กับผู้ปกครอง เพราะผู้ปกครองสำคัญยิ่งที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยครูคอยแนะนำ เช่น บอกว่ากิจกรรมที่เด็กสนใจเป็นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องอะไรและให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการส่งเสริมกิจกรรมแก่เด็ก
-ปลูกฝังและจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เห็นว่าวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องสนุกและน่าสนใจ โดยครูเริ่มจากการตั้งคำถาม เช่น ต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิต เด็ก ๆ คิดว่าต้นไม้ต้องการอะไรเป็นอาหารเพื่อการเจริญเติบโต
-สร้างความมั่นใจว่าตนเองมีค่า มีความสามารถ และฝึกให้เด็กรู้จักวิธีค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เช่น สังเกตว่าทำไมไม้จึงลอยน้ำ สร้างความรู้สึกอยากค้นพบและอยากหาเหตุผล
   
บทบาทของครูกับการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
-หาข้อมูลว่าเด็กแต่ละคนมีความรู้เบื้องต้นแค่ไหน
-เตรียมการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย
-จัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
-แนะนำวัสดุ-อุปกรณ์วิทยาศาตร์ เพื่อให้เด็กสนใจ
-ส่งเสริมการสำรวจค้นคว้าเพื่อนำไปสู้การค้นพบสิ่งใหม่ ๆ
-สอกแทรกทักษะทางวิทยาศาสตร์เข้ากับการเรียนรู้อื่น ๆ
-สรุปความโดยยอมรับความเห็นของเด็ก ๆ ฝึกให้เด็กเก็บข้อมูลและนำเสนอผลงานโดยการวาด การบอกเล่า ให้เด็กมีบทบาทในการริเริ่มวางแผนกับเพื่อน
   
บทบาทของผู้ปกครองกับการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
-ส่งเสริมและฝึกให้เด็กรู้จักสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
-สร้างความมั่นใจในตนเองให้กับเด็ก
-ใช้คำถามกับเด็กและส่งเสริมให้เด้กตั้งคำถาม
-มีส่วนร่วมในการทดลองหรือทำกิจกรรมวิทยาศาตร์กับเด็ก ๆ เช่น การทำอาหาร การปลูกต้นไม้ เพื่อให้เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนแปลง รู้จักการจดบันทึก
-พาเด็กไปเที่ยวหรือทัศนศึกษาเพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ที่กว้างขวางและหลากหลาย
-ทำกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ คิดหาคำตอบได้ด้วยตนเอง

   สุดท้ายอาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาจับคู่กันเพื่อสร้างกิจกรรมเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ พร้อมบอกว่ากิจกรรมนั้นส่งเสริมความคิดมร้างสรรค์ทางด้านใด และส่งเสริมอย่างไรบ้าง




   การประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
   การประเมินเพื่อน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
   การประเมินอาจารย์ มีกิจกรรมเพื่อดึงดูดความสนใจของนักศึกษา และมีเวลาให้นักศึกษาผ่อนคลาย



Learning Log 8
Friday 3rd April 2020


   วันนี้เป็นครั้งที่ 3 ที่เราเรียนกันในแอปพลิเคชั่น ZOOM เราเรียนในเรื่อง "กิจกรรมวิทยศาสตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย" โดยอาจารย์ให้จับคู่และเพิ่มเติมกิจกรรมวิทยาศาสตร์

   การประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
   การประเมินเพื่อน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
   การประเมินอาจารย์ มีกิจกรรมเพื่อดึงดูดความสนใจของนักศึกษา และมีเวลาให้นักศึกษาผ่อนคลาย



Learning Log 9
Friday 10th April 2020


     วันนี้เป็นครั้งที่ 4 ที่เราเรียนกันในแอปพลิเคชั่น ZOOM อาจารย์ให้เตรียมกระดาษ A4 คนละ 2 แผ่นเพื่อทำกิจกรรม




กิจกรรมที่ 1 วาดภาพต่อเติมจากตัวเลข 1-9


   จากการทำกิจกรรมช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางด้านความคิดคล่องแคล่วในการออกแบบว่าตัวเลขแต่ละตัวสามารถดัดแปลงเป็นรูปใดได้บ้าง การคิดยืดหยุ่นคือการคิดตามจินตนาการที่เรามีอยู่ ภาพที่เราวาดและต่อเติมลงไปอาจจะมาจากในหนังที่เราดู

กิจกรรมที่ 2 ตัดกระดาษรูปทรงเลขาคณิตแล้วต่อเป็นภาพตามจินตนาการ


   จากการทำกิจกรรมช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางด้านความคิดคล่องแคล่วในการออกแบบว่าเราจะนำรูปทรงเลขาคณิตมาประกอบเป็นรูปร่างอะไร

   การประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
   การประเมินเพื่อน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
   การประเมินอาจารย์ มีกิจกรรมเพื่อดึงดูดความสนใจของนักศึกษา และมีเวลาให้นักศึกษาผ่อนคลาย


Learning Log 10
Friday 17th April 2020


   วันนี้เป็นครั้งที่ 5 ที่เราเรียนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น ZOOM โดยเริ่มที่เนื้อหาการเรียนการสอนเรื่อง

สมองกับความสำคัญ
หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ของคนยุคใหม่คือการปลดปล่อยพลังสมองออกมา

การเคลื่อนไหวกับการพัฒนาสมอง 
การบริหารสมองเป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวของร่างกายกับการทำงานของสมอง

การทำงานของสมอง
สมองเปรียบเสมือนแผงสวิชไฟฟ้าที่สลับซับซ้อนอยู่ในกะโหลก เป็นไขมัน มีเยื่อหุ้มอยู่ด้านนอก บรรจุเซลล์ประสาท1แสนล้านเซลล์ เรียกว่า นิวโรน

ความสำคัญของการพัฒนาสมอง
-เป็นรากฐานของการพัฒนาสมองทั้งปวง
-เป็นการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ที่ยั่งยืน
-เป็นช่วงเวลาสำคัญและจำเป็นที่สุดในการพัฒนาสมอง
-สังคมต้องการคนดีและมีความคิดสร้างสรรค์ คนเก่งมีความสามารถ ฉลาดทางอารมณ์
-มนุษย์ใช้ประโยชน์ของสมองเพียง 10%
-สมองได้ถูกกำหนดให้โง่

โครงสร้างและการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้
-สมองส่วนหน้าทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์ การจำ  การเรียนรู้ ความฉลาด ความคิดอย่างมีเหตุผล ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขาและใบหน้า
-สมองส่วนข้าง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับความรู้สึกสมองซีกซ้ายรับความรู้สึกของกล้ามเนื้อทางขวา สมองซีกขวารับความรู้สึกของกล้ามเนื้อทางซ้าย
-สมองส่วนขมับ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน ถ้าลึกลงไปจะทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำระยะยาว

  อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาออกแบบท่าเต้นประกอบเพลงและท่าโยคะสำหรับเด็กปฐมวัย





   การประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
   การประเมินเพื่อน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
   การประเมินอาจารย์ มีกิจกรรมเพื่อดึงดูดความสนใจของนักศึกษา และมีเวลาให้นักศึกษาผ่อนคลาย


Learning Log 11
Friday 24th April 2020


   วำหรับวันนี้เป็นครั้งที่ 6 ในการเรียนการสอนผ่านแอปพลิเคชั่น ZOOM วันนี้เราเรียนกันในเรื่อง "บทบาทของครูที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย"

บทบาทของครูปฐมวัยกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
-การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน
-การจัดกิจกรรมหรือการจัดประสบการณ์
-การวัดประเมินผล
-ให้ความสนใจเด็ก
-การจัดเตรียมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์

คุณลักษณะทางความคิดสร้างสรรค์ของครูปฐมวัย
-มีความคิดสร้างสรรค์ในการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
-เป็นแหล่งความรู้และมีความรอบรู้ ครูที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นผู้สนใจศึกษาค้นคว้าสิ่งต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
-มีความสนใจรอบด้าน สนใจในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างหลากหลายและไม่ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ
-มีอารมณ์ขัน
-สุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจเป็นลักษณะพื้นฐานที่่สำคัญสำหรับครู
-คุณสมบัติส่วนตัวของครูผู้สอน มีรสนิยมดี แต่งกายปราณีต สวยงามและเหมาะสมกับวัย

การสอนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
-จัดกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้แบบระดมพลังสมอง
-ให้เด็กเรียนรู้การสร้างสรรค์โดยการลงมือปฏิบัติจริง เน้นการสร้างสภาวะสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดการตอบสนองหลายรูปแบบ
-เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผนหรือกำหนดกิจกรรมที่ต้องการเรียนรู้
-เปิดโอกาสให้เด็กนำเสนอผลงานทุกคน
-ส่งเสริมให้เด็กแสดงความคิดหลากหลายด้านตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์
-ส่งเสริมความสามารถที่จะนำไปสู่การคิด การกระทำอย่างสร้างสรรค์

   อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาทำภายในระยะเวลาที่กำหนด

ชิ้นที่ 1 ตอบคำถามท้ายบท


ชิ้นที่ 1 สื่อจากธรรมชาติ


ชิ้นที่ 2 อธิบายลำดับขั้นพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์

ชิ้นที่ 3 เปรียบเทียบแนวความคิดสร้างสรรค์ของนักการศึกษา


   การประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
   การประเมินเพื่อน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
   การประเมินอาจารย์ มีกิจกรรมเพื่อดึงดูดความสนใจของนักศึกษา และมีเวลาให้นักศึกษาผ่อนคลาย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น